คิดว่าคงมีหลายคนแล้วที่ทราบผลการคัดเลือกในการสอบตรงบางมหาวิทยาลัยแล้ว และที่สำคัญจะต้องไปสอบสัมภาษณ์ เพื่อทราบผลครั้งสุดท้าย ดังนั้นสิ่งที่นักเรียนควรจะศึกษาเป็นอย่างยิ่งก็คือการเตรียมตัวเพื่อการสอบสัมภาษณ์และเทคนิคการสอบสัมภาษณ์ เราเดินทางมาใกล้ถึงฝั่งแล้ว
จะยอมแพ้ได้ง่ายๆ หรือ จริงไหมครับ ทีนี้มาลองศึกษาเทคนิคการสอบสัมภาษณ์
ด้วยกันนะครับ
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์มีดังนี้
1.การเตรียมตัวก่อนวันไปสัมภาษณ์
- เตรียมเอกสารส่วนตัวให้เรียบร้อย จัดลงในแฟ้มสะสมผลงาน หรือ PORTFOLIO ให้เป็นระบบ ตัวอย่างเอกสาร เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติการเรียน ผลการเรียน การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การประกวดแข่งขัน ผลงานและรางวัลต่าง ๆ รูปภาพ ฯลฯ
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย คณะ และสาขาวิชาที่สมัครเข้าศึกษา รวมทั้งติดตามข่าวสารความรู้ทั่วไปในปัจจุบัน
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ไปสัมภาษณ์ การเดินทาง ระยะทาง ตึก-ห้องที่จะสัมภาษณ์ ควรจะเผื่อรถติดด้วย
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรงดการรับประทานอาหารรสจัด
- อย่าลืมเตรียมปากกาไปด้วย
2. วันสอบสัมภาษณ์
- แต่งกายเครื่องแบบนักเรียนที่สะอาด เรียบร้อย นักเรียนชายผมสั้น นักเรียนหญิงถ้าผมยาวให้รวบผมติดกิ๊บให้เรียบร้อย ไม่แต่งหน้า ไม่ใส่น้ำหอม และไม่ใส่เครื่องประดับใดๆ นอกจากนาฬิกา
- รับประทานอาหารเช้า ทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย
- ไปถึงห้องสอบก่อนเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที เข้าห้องน้ำ นั่งรอหน้าห้องด้วยความสบายใจ ไม่คุยเสียงดัง ไม่เล่น ให้นั่งรอเรียกชื่อด้วยความสงบ ถ้าตื่นเต้นให้หายใจยาวๆ
- ปิดโทรศัพท์มือถือ
3. การเข้ารับการสัมภาษณ์
- เมื่อถูกเรียกชื่อให้เดินไปด้วยอาการสงบ ไม่ต้องตื่นเต้นมาก คิดว่า “เราทำได้”
- ถ้ามีประตูให้เคาะประตูก่อน ถ้าไม่มี ให้เดินไปที่หน้าโต๊ะกรรมการสัมภาษณ์ และไหว้ด้วยท่าทีที่อ่อนน้อม กรณีที่มีผู้สัมภาษณ์หลายคนให้ทำความเคารพครั้งเดียว โดยยืนตำแหน่งตรงกลางหน้าโต๊ะกรรมการ
- นั่งลงเมื่อกรรมการบอกให้นั่ง พร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณ ให้นั่งด้วยท่าทีที่สุภาพ ไม่นั่งไขว่ห้าง กระดิกขา หรือโยกตัว ให้ประสานมือไว้ข้างหน้า สบตาผู้สัมภาษณ์ (ไม่จ้องตานะครับ)
- ตอบคำถามด้วยความมั่นใจ มีน้ำเสียงที่ดังพอสมควรไม่ค่อยเกินไป
- ภาษาที่ใช้ควรจะเป็นภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่พูดภาษาไทยคำอังกฤษคำ ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะของวัยรุ่น ควรจะลงท้าย “ค่ะ ครับ” ทุกครั้งที่ตอบคำถาม
- การแสดงความคิดเห็นควรจะเน้นความมีเหตุผล ไม่มีอคติหรือตอบในแง่ลบ
- ไม่ถ่อมตนจนเกินไป ไม่คุยโอ้อวดหรือแสดงความมั่นใจจนเกินไป นอกจากเป็นคำถามที่ตนเองมีความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น มีทักษะด้านหุ่นยนต์ หรือ ดนตรีไทย ก็สามารถอธิบายได้ด้วยความมั่นใจ
- คำถามบางคำถามอาจจะตอบไม่ได้ ไม่ต้องตกใจ ให้บอกว่าไม่ทราบ แล้วจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติม (แต่ไม่ใช่ไม่ทราบทุกคำถามนะครับ)
- การตอบคำถาม ดวรตอบคำถามให้ตรงกับคำถามด้วยความมั่นใจ พูดจาชัดถ้อยชัดคำ พูดอย่างเป็นธรรมชาติด้วยระดับเสียงที่พอเหมาะ อย่าค่อยหรือดังเกินไป อย่าคัด.... อย่าคุยโม้โอ้อวดยกตนข่มท่านหรือถ่อมตนมากเกินไป พูดเท่าที่จำเป็น(สำคัญมากจำเอาไว้เสมอ คนเราพูดมาก โอกาสผิดมากด้วย)
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์มีดังนี้
1.การเตรียมตัวก่อนวันไปสัมภาษณ์
- เตรียมเอกสารส่วนตัวให้เรียบร้อย จัดลงในแฟ้มสะสมผลงาน หรือ PORTFOLIO ให้เป็นระบบ ตัวอย่างเอกสาร เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติการเรียน ผลการเรียน การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การประกวดแข่งขัน ผลงานและรางวัลต่าง ๆ รูปภาพ ฯลฯ
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย คณะ และสาขาวิชาที่สมัครเข้าศึกษา รวมทั้งติดตามข่าวสารความรู้ทั่วไปในปัจจุบัน
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ไปสัมภาษณ์ การเดินทาง ระยะทาง ตึก-ห้องที่จะสัมภาษณ์ ควรจะเผื่อรถติดด้วย
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรงดการรับประทานอาหารรสจัด
- อย่าลืมเตรียมปากกาไปด้วย
2. วันสอบสัมภาษณ์
- แต่งกายเครื่องแบบนักเรียนที่สะอาด เรียบร้อย นักเรียนชายผมสั้น นักเรียนหญิงถ้าผมยาวให้รวบผมติดกิ๊บให้เรียบร้อย ไม่แต่งหน้า ไม่ใส่น้ำหอม และไม่ใส่เครื่องประดับใดๆ นอกจากนาฬิกา
- รับประทานอาหารเช้า ทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย
- ไปถึงห้องสอบก่อนเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที เข้าห้องน้ำ นั่งรอหน้าห้องด้วยความสบายใจ ไม่คุยเสียงดัง ไม่เล่น ให้นั่งรอเรียกชื่อด้วยความสงบ ถ้าตื่นเต้นให้หายใจยาวๆ
- ปิดโทรศัพท์มือถือ
3. การเข้ารับการสัมภาษณ์
- เมื่อถูกเรียกชื่อให้เดินไปด้วยอาการสงบ ไม่ต้องตื่นเต้นมาก คิดว่า “เราทำได้”
- ถ้ามีประตูให้เคาะประตูก่อน ถ้าไม่มี ให้เดินไปที่หน้าโต๊ะกรรมการสัมภาษณ์ และไหว้ด้วยท่าทีที่อ่อนน้อม กรณีที่มีผู้สัมภาษณ์หลายคนให้ทำความเคารพครั้งเดียว โดยยืนตำแหน่งตรงกลางหน้าโต๊ะกรรมการ
- นั่งลงเมื่อกรรมการบอกให้นั่ง พร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณ ให้นั่งด้วยท่าทีที่สุภาพ ไม่นั่งไขว่ห้าง กระดิกขา หรือโยกตัว ให้ประสานมือไว้ข้างหน้า สบตาผู้สัมภาษณ์ (ไม่จ้องตานะครับ)
- ตอบคำถามด้วยความมั่นใจ มีน้ำเสียงที่ดังพอสมควรไม่ค่อยเกินไป
- ภาษาที่ใช้ควรจะเป็นภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่พูดภาษาไทยคำอังกฤษคำ ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะของวัยรุ่น ควรจะลงท้าย “ค่ะ ครับ” ทุกครั้งที่ตอบคำถาม
- การแสดงความคิดเห็นควรจะเน้นความมีเหตุผล ไม่มีอคติหรือตอบในแง่ลบ
- ไม่ถ่อมตนจนเกินไป ไม่คุยโอ้อวดหรือแสดงความมั่นใจจนเกินไป นอกจากเป็นคำถามที่ตนเองมีความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น มีทักษะด้านหุ่นยนต์ หรือ ดนตรีไทย ก็สามารถอธิบายได้ด้วยความมั่นใจ
- คำถามบางคำถามอาจจะตอบไม่ได้ ไม่ต้องตกใจ ให้บอกว่าไม่ทราบ แล้วจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติม (แต่ไม่ใช่ไม่ทราบทุกคำถามนะครับ)
- การตอบคำถาม ดวรตอบคำถามให้ตรงกับคำถามด้วยความมั่นใจ พูดจาชัดถ้อยชัดคำ พูดอย่างเป็นธรรมชาติด้วยระดับเสียงที่พอเหมาะ อย่าค่อยหรือดังเกินไป อย่าคัด.... อย่าคุยโม้โอ้อวดยกตนข่มท่านหรือถ่อมตนมากเกินไป พูดเท่าที่จำเป็น(สำคัญมากจำเอาไว้เสมอ คนเราพูดมาก โอกาสผิดมากด้วย)
-ไม่เข้าใจคำถาม
มีบ้างบางครั้งที่เราไม่เข้าใจว่าผู้สัมภาษณ์เขาถามอะไร
วิธีการที่ดีคือกล่าวขอโทษแล้วขออนุญาตให้ช่วยถามใหม่อีกครั้ง แต่อย่าใช้บ่อยนะ
ปุเดียว โดนตัดสินประหาร ด้วยข้อหา สื่อสารหรือพูดจาภาษาคนไม่รู้เรื่อง
4. การยุติการสัมภาษณ์
- เมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์ให้ทำความเคารพกรรมการผู้สัมภาษณ์ด้วยท่าทีที่อ้อนน้อม เป็นอันเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ครับ คราวนี้ก็รอลุ้นการประกาศรายชื่อนะครับ
5. คำถามหรือคำพูดที่มักจะพบในการสอบสัมภาษณ์
- ไหนลองแนะนำตัวหน่อยสิครับ
- ทำไมถึงเลือกเรียน สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัยนี้
- ทราบไหมว่าสาขาวิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร
- คิดว่าสาขาวิชาที่เลือกเมื่อจบแล้วจะประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
- คิดว่าตนเองเหมาะสมกับสาขาวิชานี้อย่างไร
- บางท่านอาจจะถามข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดที่เราอยู่ เช่น ชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด คำขวัญของจังหวัด จุดเด่นของจังหวัด ฯลฯ
- ชอบ/ไม่ชอบวิชาอะไร
- อนาคตอยากจะประกอบอาชีพอะไร
- ให้พูดถึงข้อดี/ข้อเสียของตนเอง
- ถ้าเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษา หรือแผนการเรียนที่นักเรียนเรียนจบมา อาจจะมีการสัมภาษณ์เป็นภาษานั้น หรือ ให้พูดภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรือ เยอรมัน ให้ฟัง เป็นต้น
- บางครั้งอาจจะมีคำถามยั่วยุ หรือสบประมาท ให้ตอบคำถามด้วยความใจเย็น และมีเหตุผล และที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าสถานะการณ์การสัมภาษณ์จะกดดันความรู้สึกอย่างไรก็ขอให้นักเรียนยิ้มไว้เป็นดีที่สุดครับ
4. การยุติการสัมภาษณ์
- เมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์ให้ทำความเคารพกรรมการผู้สัมภาษณ์ด้วยท่าทีที่อ้อนน้อม เป็นอันเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ครับ คราวนี้ก็รอลุ้นการประกาศรายชื่อนะครับ
5. คำถามหรือคำพูดที่มักจะพบในการสอบสัมภาษณ์
- ไหนลองแนะนำตัวหน่อยสิครับ
- ทำไมถึงเลือกเรียน สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัยนี้
- ทราบไหมว่าสาขาวิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร
- คิดว่าสาขาวิชาที่เลือกเมื่อจบแล้วจะประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
- คิดว่าตนเองเหมาะสมกับสาขาวิชานี้อย่างไร
- บางท่านอาจจะถามข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดที่เราอยู่ เช่น ชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด คำขวัญของจังหวัด จุดเด่นของจังหวัด ฯลฯ
- ชอบ/ไม่ชอบวิชาอะไร
- อนาคตอยากจะประกอบอาชีพอะไร
- ให้พูดถึงข้อดี/ข้อเสียของตนเอง
- ถ้าเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษา หรือแผนการเรียนที่นักเรียนเรียนจบมา อาจจะมีการสัมภาษณ์เป็นภาษานั้น หรือ ให้พูดภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรือ เยอรมัน ให้ฟัง เป็นต้น
- บางครั้งอาจจะมีคำถามยั่วยุ หรือสบประมาท ให้ตอบคำถามด้วยความใจเย็น และมีเหตุผล และที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าสถานะการณ์การสัมภาษณ์จะกดดันความรู้สึกอย่างไรก็ขอให้นักเรียนยิ้มไว้เป็นดีที่สุดครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น